ประเด็นที่ 3 การบริหารจัดการฝุ่น PM2.5 อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการทำงานร่วมกัน แนวทาง 1. ขยายการดำเนินงานโครงการอากาศสะอาดเขตปทุมวัน ตามแนวคิดของเขตควบคุมมลพิษต่ำ (Low Emission Zone) ไปยังเขตเมืองชั้นใน และขยายไปครอบคลุมทุกเขตของกรุงเทพมหานคร 2. บังคับใช้เขตปลอดมลพิษ (อาทิ ฝุ่นละออง ออกไซด์ต่างๆ ของไนโตรเจน และโอโซน) โดยยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษทางอากาศสูงเกินกำหนดจะไม่สามารถเข้าเขตนี้ได้ รวมทั้งอาจมีการคิดค่าผ่านทาง (toll) ตามระดับการระบายมลพิษ 3. ติดตั้งระบบแจ้งเตือนฝุ่นในที่สาธารณะแบบ Real Time 4. ปรับเปลี่ยนรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% 5. ติดตั้งกล้อง ANPR (Automatic Number Plate Recognition) ตรวจสอบข้อมูลรถยนต์ หากตรวจพบว่าไม่ปฏิบัติตามเขตปลอดมลพิษ 6. ส่งเสริมธุรกิจ ห้างร้าน ผู้ประกอบการ และภาคเอกชน ที่ดำเนินกิจการและกิจกรรมด้านการลดแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 (Green Economy) ด้วยมาตรการด้านภาษีที่เกี่ยวข้อง ความสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ฉบับปรับปรุง สอดคล้องกับประเด็นนี้ ดังนี้ - เป้าประสงค์ที่ 2.1.4 กรุงเทพมหานครส่งเสริมให้มีการจัดการคุณภาพอากาศให้ได้มาตรฐาน (https://bkkelection65.thaipbs.or.th/wp-content/uploads/2022/05/white_paper_policy.pdf)
This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation