ประเด็นที่ 4 การบริหารจัดการขยะที่เป็นระบบตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ แนวทาง 1. ประกาศนโยบาย “การจัดการขยะที่ต้นทาง” เป็นวาระสำคัญของกรุงเทพมหานคร สร้างแนวร่วมภาคีช่วยกันลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง 2. จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะที่ต้นทาง กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด โครงการและงบประมาณ ที่ชัดเจน 3. เน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานรองรับการจัดการขยะที่ต้นทางและการจัดเก็บขยะแบบแยกประเภท 4. กำหนดมาตรการในการจัดการขยะอาหาร ซึ่งเป็นขยะที่มีสัดส่วนมากที่สุดของขยะมูลฝอยชุมชน 5. ส่งเสริมระบบการจัดเก็บขยะรีไซเคิลโดยความร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น เพิ่มการให้บริการจากบริษัทเอกชน เพิ่มจุดรับคืนขยะ (Drop-off) จากผู้ผลิต ห้างค้าปลีก ซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อเพิ่มความสามารถในการจัดเก็บ และสามารถนำขยะเข้าสู่ระบบการจัดเก็บขยะรีไซเคิลได้มากขึ้น 6. จัดระบบแยกขยะและจัดการขยะในตลาดนัด งานพิเศษ หรืออีเว้นขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร และมีการกำหนดเงื่อนไขด้านการจัดการขยะกับเจ้าของกิจกรรมอย่างชัดเจน โดยมีการทำข้อตกลงล่วงหน้า 7. ตั้งศูนย์ส่งเสริมการจัดการขยะต้นทางในระดับเขต พร้อมทั้งเพิ่มจำนวนนักวิชาการสิ่งแวดล้อมในระดับเขต 8. ออกมาตรการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวผ่านการกำหนดในสัญญาของผู้เช่าพื้นที่ ความสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ฉบับปรับปรุง สอดคล้องกับประเด็นนี้ ดังนี้ - เป้าประสงค์ที่ 2.1.3 กรุงเทพมหานครมีการลดและควบคุมปริมาณมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนถึงการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ (https://bkkelection65.thaipbs.or.th/wp-content/uploads/2022/05/white_paper_policy.pdf)
This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation