การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Physical Heath และ Mental Heath) ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และประชาชนทุกช่วงวัยสามารถเข้าถึงได้ แนวทางได้แก่ 1. สร้างพื้นที่เวทีหรือกลไกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการระบบบริการสุขภาพของกรุงเทพมหานคร 2.จัดทำธรรมนูญสุขภาพในแต่ละพื้นที่จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อตั้งเป็นนโยบายด้านสุขภาพแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน 3. ยกระดับศูนย์สาธารณสุขชุมชนให้เป็นโรงพยาบาลชุมชน หรือยกระดับคุณภาพศูนย์สาธารณสุขชุมชนให้สามารถบริการประชาชนในพื้นที่ได้อย่างครบคลุม 4. เพิ่มศูนย์สาธารณสุขชุมชนหรือคลินิกหมอครอบครัว (Primary Care Cluster: PCC) ให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5. สร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศูนย์สาธารณสุขชุมชนโดยคนในชุมชน 6. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมของศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลใหญ่ รวมภาคเอกชน ซึ่งมีการจัดตั้งเครือข่ายหน่วยบริการที่เชื่อมรอยต่อซึ่งกันและกัน 7. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงาน 8. เพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ และทีมหมอครอบครัวเพื่อให้บริการอย่างทั่วถึง 9. บูรณาการและเชื่อมโยงฐานข้อมูลสุขภาพของสถานพยาบาลทุกระดับในทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก และผู้งอายุ 10.ปรับมาตรฐานการขอทุนจาก “กองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร” ในระดับเขตของภาคประชาชน เพื่อการสนับสนุนที่เท่าเทียม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่เพื่อต่อยอดพัฒนาในรูปแบบพี่เลี้ยง ความสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ฉบับปรับปรุง สอดคล้องกับประเด็นนี้ ดังนี้ - เป้าประสงค์ที่ 1.5.1 ความครอบคลุมในการจัดให้มีระบบสุขภาพปฐมภูมิ และ - เป้าประสงค์ที่ 1.5.2 ความครอบคลุมในการจัดให้มีระบบสุขภาพทุติยภูมิและตติยภูมิ - เป้าประสงค์ที่ 1.5.3 คนกรุงเทพมหานครมีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ลดภาวะเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง - เป้าประสงค์ที่ 1.5.9 พัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อ้างจาก https://bkkelection65.thaipbs.or.th/wp-content/uploads/2022/05/white_paper_policy.pdf?fbclid=IwAR0UUc8A2HOH-rij2HXpIUnNWbcT2KpA-AuAwtCbW3zx-vDw8aEMqZGNlsM
This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation