การพัฒนาระบบหรือกลไกในการเฝ้าระวังแหล่งอาหารที่ไม่ปลอดภัย และส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยได้ แนวทาง 1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีร้านอาหารและแหล่งจำหน่ายผักผลไม้และวัตถุดิบอาหารที่ปลอดภัย 2. ส่งเสริมสิทธิในการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย เพียงพอ และมีคุณค่าทางโภชนาการของคนเมือง 3. จัดพื้นที่ในการผลิตและจำหน่ายอาหารและสินค้าปลอดภัยทั่วกรุงเทพมหานคร 4. กำหนดนโยบาย/มาตรการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบาง 5. พัฒนานวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากการหมุนเวียนทรัพยากรของเมือง 6. สนับสนุนงบประมาณแก่กลุ่มคน ชุมชนต่างๆ เพื่อทำสวนผักหรือตลาดท้องถิ่น 7. สนับสนุนและเพิ่มโอกาสให้ชุมชนต่างๆ พึ่งพาตนเอง ในการเป็นผู้ค้ารายย่อย ให้สามารถค้าขายในตลาดสด ตลาดนัด หรืออาหารริมทางให้ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจอาหาร ความสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ฉบับปรับปรุง สอดคล้องกับประเด็นนี้ ดังนี้ - เป้าประสงค์ที่ 1.5.11 ประชาชนบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อ้างจาก https://bkkelection65.thaipbs.or.th/wp-content/uploads/2022/05/white_paper_policy.pdf?fbclid=IwAR0UUc8A2HOH-rij2HXpIUnNWbcT2KpA-AuAwtCbW3zx-vDw8aEMqZGNlsM
This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation