1. ส่งเสริมให้เด็กทุกคนในพื้นที่กรุงเทพมหานครเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะเด็กยากจนในพื้นที่กรุงเทพฯ เด็กในชุมชนแออัด และเด็กชายขอบ 2. สร้างกลไกหรือทรัพยากรสนับสนุนการจัดการศึกษาทางเลือก แก่เด็กยากจนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เด็กในชุมชนแออัด และเด็กชายขอบ 3. พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ไม่เน้นการบรรยายและการท่องจำ และส่งเสริมให้ความรู้ครูให้มีศักยภาพ 4. พัฒนาหลักสูตรให้มีมาตรฐานสามารถเทียบเท่ากับหลักสูตรของโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญ่และโรงเรียนเอกชนอื่นๆ 5. ใช้กลไกเชิงพื้นที่ (Area-based Education: ABE) เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการพัฒนาพื้นที่นำร่องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 6. ถ่ายโอนภารกิจด้านการศึกษาให้ไปอยู่ในความดูแลของสำนักงานเขต โดยการกระจายอำนาจ ทรัพยากร งบประมาณ และบุคลากร ในการดำเนินงาน ทั้งนี้อาจเริ่มดำเนินการจากศูนย์ฯ ที่มีความพร้อมก่อน 7. การเพิ่มระบบสวัสดิการของบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร 8. การส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพของของบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ความสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ฉบับปรับปรุง สอดคล้องกับประเด็นนี้ ดังนี้ - เป้าประสงค์ที่ 3.3.1 เด็กที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาตามความต้องการ - เป้าประสงค์ที่ 3.3.6 การบริหารจัดการสถานศึกษา - เป้าประสงค์ที่ 3.3.7 ศึกษาและพัฒนาเนื้อหาการเรียนรู้ตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนแต่ละช่วงวัยและกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร - เป้าประสงค์ที่ 3.3.5 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครได้รับการพัฒนาตามสมรรถนะประจำสายงาน - เป้าประสงค์ที่ 7.3.3 การพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความยืดหยุ่น คล่องตัว และสนับสนุนการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (https://bkkelection65.thaipbs.or.th/wp-content/uploads/2022/05/white_paper_policy.pdf)
This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation