1. สำรวจความต้องการของคนในพื้นที่และสร้างการมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วนในการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย ยืดหยุ่นและสามารถเข้าใช้บริการได้ตลอดเวลา 2. พัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ของเด็ก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและ การเรียนรู้ 3. บูรณาการเรียนรู้ที่หลากหลายวิชาความรู้ ข้ามศาสตร์ โดยเฉพาะองค์ความรู้ใหม่ๆ 4. มี Community Center ที่ใช้งานได้จริง 5. พัฒนากลไกในการขับเคลื่อนพื้นที่ให้มีความต่อเนื่องในระยะยาว และเกิดความยั่งยืน โดยกรุงเทพมหานครให้การสนับสนุนงบประมาณ และบุคลากรในดูแลพื้นที่การเรียนรู้ด้านศิลปะอย่างจริงจัง 6. หมุนเวียนการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะอย่างต่อเนื่อง โดยใช้พื้นที่การเรียนรู้หรือสวนสาธารณะที่มีอยู่แล้ว ความสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ฉบับปรับปรุง สอดคล้องกับประเด็นนี้ ดังนี้ - เป้าประสงค์ที่ 3.3.8 พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ตามอัธยาศัย - เป้าประสงค์ที่ 3.4.2 กรุงเทพมหานครมีกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ทางพหุวัฒนธรรม ที่หลากหลายให้แก่ประชาชน - เป้าประสงค์ที่ 3.4.3 กรุงเทพมหานครสร้างหรือพัฒนากลไกและเครือข่ายการขับเคลื่อน การเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร (https://bkkelection65.thaipbs.or.th/wp-content/uploads/2022/05/white_paper_policy.pdf)
This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation