ผู้คนในชุมชนริมแม่น้ำน้อย หรือตำบลหัวเวียง ยังคงมีวิถีชีวิตผูกพันธ์กับสายน้ำ มีบ้านเรือนไทยใต้ถุนสูง บ้านเรือนแพ วัดและแหล่งโบราณสถาน ที่ใช้การเดินทางสัญจรทางน้ำ รูปแบบการท่องเที่ยววิถีชุมชน อนุรักษ์ทรัพยากรกลายเป็นกระแสก่อนเจอวิกฤตโควิด-19 และคาดว่าจะเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้นในอนาคต หลายพื้นที่ของ จ.พระนครศรีอยุธยาและใกล้เคียงจึงหันมาพัฒนาศักยภาพชุมชนในด้านนี้ ด้านเทศบาลหัวเวียงเองมีวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและชุมชนให้น่าอยู่ เพื่อพัฒนาสู่เศรษฐกิจการท่องเที่ยว แต่จากปัญหาน้ำท่วมหลากในช่วงเดือน ส.ค.-ธ.ค. ทำให้ต้องวางแผนการจัดการ การท่องเที่ยวตามฤดูกาลที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการการวางแผนบริหารจัดการ เตรียมความพร้อมพื้นที่ เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง รวมถึงจัดการผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจตามมา อาทิ การคมนาคม ปัญหาขยะ ไปจนถึงการดูแลความปลอดภัยจากโรคติดต่อ และความเสี่ยงต่าง ๆ ขณะเดียวกันภาครัฐ และภาควิชาการที่มีความชำนาญในการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ต้องเข้ามาเตรียมความพร้อมให้กับคนในชุมชน โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ ได้เห็นโอกาส เพื่อเป็นทางเลือกการพัฒนาอาชีพในชุมชน
This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation