เริ่มต้นการแก้ปัญหาด้วยการบริหารจัดการหนี้ โดย กทม. เจรจากับรัฐบาล ไม่รับหนี้ของ รฟม.แล้วโอนคืนให้กระทรวงคมนาคม และศึกษาการแก้ปัญหา หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสภากรุงเทพมหานคร เพื่อทบทวนการต่อสัญญาสัมปทาน โดยไม่เร่งรีบ ไม่เอาเรื่องภาระหนี้มาเป็นเงื่อนไขในการตัดสินใจ หารือร่วมกับ รฟม. ในฐานะผู้กำกับดูแลรถไฟฟ้าส่วนใหญ่ในกรุงเทพ ฯ เพื่อหาทางออกร่วมกันเกี่ยวกับรถไฟฟ้าในการกำกับดูแลทั้งหมดของ กทม. ลดความซ้ำซ้อน ลดค่าแรกเข้าและลดค่าโดยสารลง แต่แนวทางนี้ กทม.ก็ยังคงต้องหาเงินมาจ่ายหนี้คืนให้กับบีทีเอส
เห็นด้วยกับการบริหารจัดการหนี้ ที่แยกระหว่างตัวรฟท. และกทม. เพื่อทำให้คนลงทุนระบบโครงสร้างและการเดินรถออกจากกันเป็นหนี้คนละก้อนที่ควรหาวิธีบริหารจัดการที่ต่างออกไป และผู้ใช้บริการไม่ใช่ผู้ที่ต้องแบกภาระแทน หรือการบริหารจัดการเชื่อมต่อการเดินทางที่ยังไม่เชื่อมต่อ
This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation