รัฐมีนโยบายดูแลช้างป่าให้อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยสนับสนุนงบประมาณและองค์ความรู้ในการพัฒนาแหล่งพืชอาหารและแหล่งน้ำให้เหมาะสม เพียงพอต่อจำนวนประชากรช้างป่า เพื่อให้ช้างไม่ออกมาหากินนอกเขตป่า ควบคู่กับการควบคุมจำนวนประชากร มีพื้นที่บัฟเฟอร์โซนเป็นกันชนระหว่างพื้นที่คนและพื้นที่ช้าง เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการติตตาม เฝ้าระวัง และเตือนภัยช้างป่า โดยอาศัยความร่วมมือของเจ้าหน้าที่รัฐ ท้องถิ่น และอาสาสมัครของชุมชนในการร่วมเฝ้าระวัง ทั้งนี้จะต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้และมีงบประมาณดูแล สนับสนุน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ มีกลไกในการจัดการปัญหาช้างป่าในระดับจังหวัด เพื่อกำหนดนโยบายรายพื้นที่ โดยมีตัวแทนประชาชน ภาคประชาสังคม องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ฯลฯ เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและตรวจสอบถ่วงดุลในการจัดการปัญหาช้างป่าร่วมกับภาครัฐ การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรม โดยผ่านการมีส่วนร่วม ต้องเกิดขึ้นก่อน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และความรุนแรงในการเผชิญหน้าระหว่างคนกับช้าง
This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation