นโยบาย “3 นโยบายชายหาดยั่งยืน” ภาคใต้มีจังหวัดที่ติดต่อชายฝั่งทะเล 12 จังหวัด ความยาว 2,400 กิโลเมตร ตลอดแนวชายหาดของภาคใต้ จาก 3,115 กิโลเมตร ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอันคลื่น ลม พายุ และการรบกวนสมดุลชายฝั่ง ด้วยโครงสร้างป้องกันชายฝั่งและเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ นโยบายเพื่อชายหาดยั่งยืน มี 3 เรื่องสำคัญ 1. คืนสมดุลตะกอนทรายชายฝั่ง 2. ชายหาดอยู่ได้ชายฝั่งก็ปลอดภัย (ถอยร่น) 3. การกัดเซาะชายฝั่งชั่วคราวต้องจัดการภัยด้วยมาตรการชั่วคราว
เห็นด้วยกับนโยบายนี้ค่ะ เนื่องจากเห็นได้จากการเปรียบเทียบที่เคยไปเที่ยวทะเลในอดีตและปัจจุบัน ปัจจุบันจะมีชายหาดที่สวยงามลดน้อยลงมาก ขอเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมอนุรักษ์ชายหาดค่ะ
หากเราไม่จัดการให้สมดุลชายฝั่งด้วยการถ่ายเททราย หรือ ให้การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นสาธารณภัย เเละกำหนดเเนวถอยร่น ชายหาดก็จะถูกทำลายจนถ่ายที่สุดกลายเป็นกำเเพงกันคลื่น เเละจะเกิดกกำเเพงกันคลื่นทุกชายหาดในประเทศไทย "หากเรายังคงดำเนินนโยบายเเบบเดิม ภายใต้วิธีคิดเหมือนเดิม สุดท้ายชายหาดไทยจะหายไป"
#คุณเล่าเราขยาย การทวงคืน EIAให้ชายหาดยังต้องจับตา ตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากกำแพงกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง ปักหลักค้างคืนบริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ กรุงเทพมหานคร เพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาโครงการกำแพงกันคลื่นที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายหาด https://www.facebook.com/watch/?extid=CL-UNK-UNK-UNK-IOS_GK0T-GK1C&mibextid=YCRy0i&v=3065810060385333
#กำแพงกันคลื่นกับการต่อสู้ของคนบนหาด ความเจ็บปวดของชาวบ้านคือ หน่วยงานรัฐทำ เซ็น อนุมัติกันเอง เลยรู้สึกว่าไม่ให้เกียรติ รับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านว่าแท้จริงต้องการกำแพงกันคลื่นไหม มองชาวบ้านเป็นคนอื่นทั้งๆ ที่เงินเดือนของเขาได้มาจากภาษีเรา https://thecitizen.plus/node/66352
This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation