สถานการณ์และปัญหา 1. ปัจจุบันผู้สูงอายุจำนวน12ล้านคนได้รับเบี้ยยังชีพอยู่ที่ 600-1,000บาทต่อเดือนซึ่งต่ำกว่าเส้น ความยากจนถึง 3 เท่า และอัตราเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2554 จนถึง ปัจจุบันเป็นเวลาถึง 11 ปี 2. ผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนถึงร้อยละ 34.3 3. ผู้สูงอายุที่ยังคงทำงานกว่าร้อยละ 90 เป็นแรงงานนอกระบบ และในจำนวนนี้ราวร้อยละ 70 4. ทำงานในภาคการเกษตร ซึ่งมีระดับรายได้ที่ต่ำกว่าภาคการผลิตอื่น 5. ประชากรส่วนใหญ่ยังขาดการวางแผนการเงินและการออมเพื่อยามสูงอายุที่เหมาะสมและเพียงพอ 6. ทำให้ขาดความมั่นคงในการดำเนินชีวิตยามสูงวัย ประโยชน์ที่ได้รับจากนโยบาย ผู้สูงอายุมีความมั่นคงในการดำเนินชีวิตมียามสูงวัยอย่างถ้วนหน้า เพื่อรองรับสถานการณ์สังคมสูงวัย สมบูรณ์ในอนาคต กลุ่มเป้าหมาย ผู้ได้รับประโยชน์ - ผู้สูงอายุ ภาคนโยบาย - กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวง แรงงาน กองทุนการออมแห่งชาติ ภาคขับเคลื่อน - เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายบำนาญแห่งชาติ สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย นโยบาย / กลไกนโยบาย 1. คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ 2. คณะกรรมการนโยบายบำนาญแห่งชาติ ผู้ปฏิบัติ • หลัก : กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ • รอง : กระทรวงแรงงาน แนวทางการผลักดันและรูปธรรมที่คาดหวัง 1. การผลักดันกฎหมายที่รองรับให้เกิด “ระบบบำนาญแห่งชาติ” เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนิน ชีวิตเมื่อยามสูงอายุ โดยเป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจที่เป็นมาตรการระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ โดย พิจารณาศึกษาการปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า และเพียงพอต่อการดำรงชีวิต 2. สนับสนุนให้กลไกคณะกรรมการบำนาญแห่งชาติดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพตาม วัตถุประสงค์ และครอบคลุมการจัดระบบบำนาญได้อย่างครอบคลุมถ้วนหน้า 3. บูรณาการด้านสวัสดิการทุกประเภทและทุกโครงการของภาครัฐเข้าด้วยกันและเปิดให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ 4. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะและการทำงานสำหรับวัยสูงอายุเพื่อเพิ่มรายได้และความมั่นคงในการ ดำเนินชีวิตเมื่อวัยสูงอายุ 5. ส่งเสริมการวางแผนการเงินและการออมในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับประชากรวัยก่อนสูงอายุ กระบวนการผลักดันงานที่สำคัญ 1. ขับเคลื่อนให้เกิดการระบบบำนาญแห่งชาติที่กํากับดูแลภายใต้คณะกรรมการบำนาญแห่งชาติ 2. ส่งเสริมให้เกิดการออมของประชาชนทุกช่วงวัย และสามารถเพิ่มการออมไว้สำหรับยามสูงอายุ เพื่อให้เกิดหลักประกันรายได้เพิ่มขึ้น 3. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพสำหรับผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มโอกาสการมีรายได้และความมั่นคงเมื่อสูงอายุ ***ข้อเสนอการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพ โดย สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย
This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation