ข้อเสนอเชิงนโยบายผู้สูงอายุและการรองรับสังคมสูงวัย: พลังความรู้สู่นโยบาย ทางการเมืองสำหรับการเลือกตั้งปี 2566 สถานการณ์และปัญหา ในปี 2565 ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” (complete aged society) แล้ว โดยมี ประชากรอายุมากกว่า 60 ปี กว่า 12.9 ล้านคน หรือ 20% จากประชากรทั้งหมด และมีการคาดประมาณว่าใน อีกไม่เกิน 15 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” (super aged society) เมื่อสัดส่วนของประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีสูงถึง 28% ของประชากรทั้งหมด ภาวะสูงวัยนั้นจะมาพร้อมกับความเปราะบางทั้งทางด้านกายภาพ จิตใจ และสังคม ผู้สูงวัยจึงต้องพึ่งพา คนอื่นมากขึ้นในหลายด้าน การที่ครอบครัว คนรอบข้าง สังคม รวมไปถึงรัฐต้องเข้ามาประคับประคองผู้สูงวัย จำเป็นต้องใช้เวลา เงินทอง และทรัพยากรต่าง ๆ มากตามจำนวนผู้สูงวัย ถ้ายิ่งมากก็อาจจะกระทบต่อทั้งด้าน ส่วนตัวและองค์รวมทางเศรษฐกิจ สังคม และระบบโครงสร้างต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับ ปัจจัยเหล่านี้หากไม่สามารถเตรียมพร้อมรองรับการปรับตัวได้ ก็จะส่งผลกระทบทำให้การ เตรียมพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุมีปัญหามากขึ้น ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจนเพิ่มสูงขึ้น ความเหงา ความโดดเดี่ยวก็จะเพิ่มระดับความรุนแรงในผู้สูงอายุ เป็นต้น ปัจจุบันงานด้านผู้สูงอายุ ได้รับการยอมรับทั่วไปว่าเป็นประเด็นที่มีความสำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ นวัตกรรม มีการดำเนินงานอย่างหลากหลายในการส่งเสริมการรวมตัวของผู้สูงอายุเพื่อการเป็นผู้สูงอายุ ที่มีศักยภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีประเด็นปัญหาที่ยังมีช่องว่างในการดำเนินการ ดังนี้ (1) ด้านเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับประเด็นการจ้างงานทั้งแรงงานในระบบในสถานประกอบการ ต่างๆ และแรงงานนอกระบบ การจัดระบบรัฐสวัสดิการที่เพียงพอและครอบคลุมอย่างเหมาะสม (เบี้ยยังชีพหรือบำนาญพื้นฐาน) การส่งเสริมการออมในหลายรูปแบบทั้งออมเงิน (กองทุนการออม แห่งชาติ)และออมต้นไม้ (2) ด้านสภาพแวดล้อม มุ่งการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับ ทุกคนและมีความยั่งยืน (3) ด้านสุขภาพ มุ่งเน้นในประเด็น การสร้างมาตรการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและแรงจูงใจให้คนไทยมี สุขภาพดีให้นานที่สุด พึ่งพาตนเองได้ยาวนานที่สุด พัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง การดูแลผู้ป่วย ระยะยาว โดยจัดให้มีกองทุนต่างๆ มารองรับอย่างเหมาะสม และสร้างศักยภาพองค์กรปกครอง ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทโดยตรง (4) ด้านสังคม ในประเด็นการสร้างสังคมสำหรับคนทุกกลุ่ม การสร้างกลไกการสานพลังทางสังคมให้ เข้มแข็ง การสร้างสวัสดิการและแรงจูงใจให้ผู้ที่พร้อมมีบุตร (5) ด้านเทคโนโลยี เน้นการพัฒนาความรู้ และการเข้าถึงเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีข้อเสนอทางนโยบายในการขับเคลื่อนนโยบายผู้สูงอายุต่างๆ ออกมามากมาย ก็ยังเพียงเป็นข้อเสนอในเชิงวิชาการเท่านั้น ที่ต้องผ่านการนําไปปฏิบัติจริงโดยภาคการเมืองหรือรัฐบาล ดังนั้น ในโอกาสที่ประเทศไทยกําลังก้าวเข้าสู่บรรยากาศการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในราวเดือนพฤษภาคม2566นี้ จึงควรที่ภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านผู้สูงอายุ จะได้มีการขับเคลื่อน “พลังความรู้สู่นโยบายทางการเมือง” ในการผลักดันข้อเสนอแนะทางนโยบายด้านผู้สูงอายุที่ยังมีข้อจำกัดต่าง ๆ ให้สามารถนําไปสู่การปฏิบัติอย่างอย่างยั่งยืน โดยผ่านกระบวนการทางประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองแข่งขันกันนําเสนอนโยบายให้ประชาชนเลือก ประโยชน์ที่ได้รับจากนโยบาย ข้อเสนอนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและรองรับสังคมสูงอายุที่สำคัญและจำเป็นจากภาคประชาสังคม ได้รับการผลักดันสู่นโยบายภาคการเมืองและขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ กลุ่มเป้าหมาย พรรคการเมือง และเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านผู้สูงอายุ ผู้ปฏิบัติ - หลัก : โครงการส่งเสริมพัฒนาการจัดการข้อมูลความรู้ ด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม เพื่อการเผยแพร่ สาธารณะรองรับสังคมสูงวัย แนวทางการผลักดันและรูปธรรมที่คาดหวัง 1) จัดทำข้อเสนอแนะนโยบายผู้สูงอายุที่สำคัญและจำเป็นในระยะเปลี่ยนผ่านการเลือกตั้ง 2566 ของ ภาคประชาสังคม 2) การสื่อสารสาธารณะสร้างการยอมรับจากสังคม 3) การผลักดันสู่นโยบายรัฐบาลชุดใหม่ กระบวนการผลักดันงานที่สำคัญ 1) รวบรวมข้อเสนอเชิงวิชาการและนโยบายด้านผู้สูงอายุต่างๆ 2) ประชุมหารือเครือข่ายภาคประชาสังคมผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้อง 3) การขับเคลื่อนพลังความรู้สู่นโยบายทางการเมืองสำหรับการเลือกตั้งปี2566 - การจัดเวทีร่วมกับพรรคการเมือง - การสื่อสารสาธารณะ ***ข้อเสนอการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพ โดย สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย
This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation