ปัญหา . นักเรียนไทยเรียนหนักและมีจำนวนชั่วโมงเรียนสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก แต่ทักษะหลายอย่างกลับยังไม่สามารถแข่งกับนานาชาติได้ เช่น: ในการวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่านของเด็กแต่ละประเทศทั่วโลก (การประเมิน PISA 2018) ประเทศไทยเข้ามาเป็นอันดับที่ 58 ด้านคณิตศาสตร์ อันดับที่ 54 ด้านวิทยาศาสตร์ และอันดับที่ 67 ด้านการอ่าน จาก 79 ประเทศทั่วโลกที่ถูกวัดผล . ในการวัดทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ (English Proficiency Index 2022) ประเทศไทยเข้ามาเป็นอันดับที่ 97 จาก 111 ประเทศที่ถูกวัดผล . ทั้งหมดนี้สะท้อนว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความขยันหรือความทุ่มเทของนักเรียน แต่อยู่ที่ระบบการศึกษาที่ไม่สามารถแปรความขยันหรือเวลาของนักเรียน ไปเป็นทักษะที่แข่งขันในระดับสากลได้ การปฏิรูปหลักสูตร-วิธีการสอน-การประเมิน จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย . ข้อเสนอ . ร่างหลักสูตรใหม่ภายใน 1 ปี และค่อยๆ ปรับใช้จนสามารถใช้ในทุกระดับชั้นได้ภายใน 4 ปี . หลักสูตรจะเน้นการสอนทักษะ-สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ (เช่น คิดวิเคราะห์ สื่อสาร ทำงานเป็นทีม เห็นอกเห็นใจผู้อื่น) และการใช้ชีวิต (เช่น ความรู้ทางการเงิน ความรู้ด้านสุขภาพ) . ปรับการสอนทุกวิชาให้มุ่งเน้นทักษะสมรรถนะเป็นหลัก (เช่น การสอนภาษาอังกฤษที่เน้นทักษะการสื่อสาร หรือการสอนประวัติศาสตร์ที่เน้นการวิเคราะห์-ถกเถียง-แลกเปลี่ยน) . ปรับรูปแบบการเรียนการสอนแนะแนว ที่เน้นการเชื่อมกับโลกภายนอกและกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบตัวเอง . เพิ่มกิจกรรมทดลองเรียนรู้จากงานจริง หรือ job shadow การจัดคลินิกให้คำปรึกษา 1-ต่อ-1 การจัดสรรบัญชีวิทยากรจากภายนอกในอาชีพที่เด็กสนใจ . อ่านเพิ่มเติม https://election66.moveforwardparty.org/policy
This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation