ข้อเสนอการบริหารจัดการขยะมูลฝอย นโยบายปฏิรูประบบการจัดการขยะมูลฝอย (ร่าง พ.ร.บ. การจัดการขยะอย่างยั่งยืนและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนและร่างพ.ร.บ.การจัดการขยะบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนที่ใช้หลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต สถานการณ์และปัญหา 1. ตามกฎหมายปัจจุบัน “ขยะ” เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ส่วนใหญ่ยังทำหน้าที่เพียง “เก็บขนกำจัด” โครงสร้างกฎหมายไม่เอื้อให้ใช้กลไกส่งเสริมที่ต้นทาง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังมิได้มีแผนและระบบจัดการขยะที่ต้นทางอย่างจริงจัง 2. สถานที่กำจัดขยะ 90% ยังจัดการไม่ถูกต้อง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนใกล้เคียง 3. ปัญหาขยะตกค้าง ขยะพลาสติกในทะเล ไทยติดอันดับ 6 ที่ปล่อยให้ขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดในโลก สร้างความเสี่ยงไมโครพลาสติกปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ 4. ผู้ผลิต/ภาคธุรกิจ ยังไม่ได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการจัดการบรรจุภัณฑ์ตลอดวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ใช้บรรจุภัณฑ์และพลาสติกใช้ครั้งเดียวอย่างฟุ่มเฟือยไม่คำนึงถึงความยากง่ายในการรีไซเคิล โดยรัฐยังขาดมาตรการส่งเสริมวัสดุทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ 5. ผู้บริโภคส่วนใหญ่เคยชินกับการรับและใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียว ยังไม่ลดและคัดแยกขยะเท่าที่ควร 6. ขาดมาตรการส่งเสริมและยกระดับกลุ่มซาเล้ง ร้านรับซื้อของเก่า โรงงานรีไซเคิลให้มีการจัดการที่ดี ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กฎหมาย / นโยบาย / กลไกนโยบาย • พัฒนาร่างพ.ร.บ. ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ หรือกฎหมาย EPR (สอดคล้องกับ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565-2570) • (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2567) เรื่อง กำหนดมาตรการ EPR และ CE ในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์) • แผนปฏิบัติการพัฒนาระบบจัดการมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2567-2569 ผู้ปฏิบัติ • หลัก : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงการคลัง • รอง : กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น _สถ.) ร่วมกับ TIPMSE สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แนวทางการผลักดันและรูปธรรมที่คาดหวัง • คณะอนุกรรมการ BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษาฯ • คณะอนุกรรมการจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความเห็นกับร่าง พ.ร.บ. การจัดการขยะอย่างยั่งยืนและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน พ.ศ............... และร่าง พ.ร.บ.การจัดการขยะบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนที่ใช้หลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต พ.ศ.......... เสนอต่อสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา • นายกรัฐมนตรี พิจารณาและรับรองร่างพ.ร.บ. การจัดการขยะอย่างยั่งยืนและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน พ.ศ............... และร่าง พ.ร.บ.การจัดการขยะบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนที่ใช้หลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต พ.ศ.......... • ที่ประชุมรัฐสภา (สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา) พิจารณาร่าง พ.ร.บ. การจัดการขยะอย่างยั่งยืนและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน พ.ศ............... และร่าง พ.ร.บ.การจัดการขยะบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนที่ใช้หลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต พ.ศ.......... เสนอต่อสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและรับรองในวาระที่ 1 และตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาแก้ไขปรับปรุงร่างกฎหมายฯ ***ข้อเสนอการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพ โดย สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย
This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation